วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

การ์ตูนเกี่ยวกับอาเซียน

ความเป็นมาของอาเซียน


ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

logo
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nations)

asean_declaration
พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

การจัดตั้ง
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)

open1

วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558

หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
  • การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
  • สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
  • หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  • ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
  • การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
  • ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

โครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย  การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำ หน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะได้รับ การเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน โดย 2 คนมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกในระบบเปิด สำนักเลขาธิการอาเซียนจะมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศ สมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นได้ถูกปรับเปลี่ยนตาม กฎบัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ชุดประจำชาติในอาเซียน



ชุดประจำชาติของประเทศในอาเซียน


 1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซียสำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว
ประเทศมาเลเซีย


 

2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม
อ่าวหญ่าย
 เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ
ประเทศเวียดนาม






3. ชุดประชาติของประเทศพม่า
ลองยี
 เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่
ประเทศพม่า

4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไนสำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
ประเทศบรูไน



5. ชุดประจำชาติของประเทศลาวผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
ประเทศลาว


6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
เคบาย่า
 (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวและนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
ประเทศอินโดนีเซีย


7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก
ประเทศฟิลิปปินส์


8. ชุดประจำชาติของประเทศไทยสำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน สำหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน
ประเทศไทย



9. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา
ซัมปอต
 (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สำหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว
ประเทศกัมพูชา



10. ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์สิงคโปรไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า(Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
ประเทศสิงคโปร์

เกี่ยวกับอาเซียน


ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมันแห่งเอเชีย การแต่งตัวค่อนข้างผสมกันระหว่างมาเลย์กับจีน 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการาบรูไนดารุสซาลาม
ดอกซิมปอร์ 


Preăh Réachéanachâkr Kâmpŭchea - เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
ดอกลำดวน อาจจะเคยได้ยินชื่อกันนะครับ


ชื่อภาษาท้องถิ่น - เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย 
ดอกกล้วยไม้ราตรี



ชื่อภาษาท้องถิ่น - สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
ดอกจำปาลาว หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าดอกลีลาวดี หรือชื่อเก่า ลั่นทม คงรู้จักกันดีครับ 

มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิมครับ
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
ดอกชบา ตอนนี้เหลือต้นเดียวที่บ้านครับ ไม่ได้เห็นดอกนานมากแล้ว


ชื่อภาษาท้องถิ่น - ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
ดอกประดู่ หลายๆคนอาจรู้จักนะครับ

ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า
"ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย"
ชื่อภาษาท้องถิ่น - เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
ดอกไม้ประจำชาติคือดอกพุดแก้ว
 ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์

ภาษาจีน - ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า


ชื่อภาษาท้องถิ่น - ราชอาณาจักรไทย
ดอกราชพฤกษ์ หรือเรียกง่ายๆว่าดอกคูณ เดากันถูกมั๊ยครับ

และส่งท้ายด้วยเวียดนาม เนื่องจากมีพรมแดนติดประเทศจีนและรับวัฒนาธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่มามาก ดังนั้นชุดประจำชาติเวียดนามจะมีเอกลักษณ์คล้ายจีนมากครับ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น - ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
ดอกไม้ประจำเวียดนามคือ ดอกบัว 

อาหารประเทศในอาเซียน

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
  
อัมบูยัต (Ambuyat) จัดเป็นอาหารประจำชาติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีลักษณะคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก โดยทั่วไปอัมบูยัต คือ อาหารที่รับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่าง วางอยู่โดยรอบ
Ambuyat is considered the most popular delicacy in Brunei. It is made from sago and eaten by dipping a serving in a hot and thick sauce called cacah. Ambuyat, in replacement of rice, is served with a minimum of three main and side dishes.


กัมพูชา (Cambodia)
อาม็อก (Amok) มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ทำจากปลา น้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ อาม็อก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของกัมพูชา
Amok is a traditional Cambodian dish. It's fish mixed with curry saucekroeung, coconut milk and steamed in a boat made origami fashion from a banana leaf.


  
อินโดนีเซีย (Indonesia)


กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ

Gado-gado is one of the well-known dishes from Indonesia. It is vegetable salad with peanut sauce. It is usually served with tomato wedges, bean sprouts, tofu, cabbage and boiled eggs.


 
ลาว (Loas)
 
ซุบไก่ (Chicken Soup) เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง 
Chicken soup is a traditional Lao dish. Lemongrass, basil leaves, garlic and onions are important ingredients. Undoubtedly, Lao food is one of the greatest and healthiest cuisines with many types of fresh herbs.



มาเลเซีย (Malaysia)
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาซิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิม จะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า 
Nasi Lemak is one of the well-known dishes from Malaysia. It is Malaysian coconut milk rice with dried anchovies. Serve hot or cold with fried peanuts, crispy anchovies, cucumber slices, boiled eggs and sweet chilli paste.

เวียดนาม (Vietnam)


Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่าง ๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม
Nem is one of Vietnam’s favourite dishes. It is very easy to prepare. Ingredients used for Nem comprise of lean minced pork, sea crabs or unshelled shrimps, mushroom , dried onion, duck eggs, pepper, salt and different kinds of seasoning. All are mixed thoroughly before being wrapped with transparent rice paper into small rolls. These rolls are then fried in boiling oil.


ฟิลิปปินส์ (Philippines)
 
อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไป ทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว 
Adobo is the most popular Filipino dish.It can be made with either chicken or pork, but it is typically made with chicken. It is easily cooked by adding the pork and chicken to the pan. Then add 2 cups of water, 1/4 cup of soy sauce, vinegar, paprika and the bay leaves. After that bring to a boil and cover and simmer for 30 minutes or when meat is tender. It istypically served with steamed white rice.


สิงคโปร์ (Singapore) 

ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิมีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตีของอิตาลี
Laksa is spicy noodle that is popular in Singapore. It is a noodle dish in coconut milk and curry soup.

 
ไทย (Thailand)
 
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา 
Tom Yum Goong (Thai Spicy Soup with Prawns) is the name given to a very popular Thai soup that is hot, spicy and sour. It is made with prawns. It gives a delicious and unusual taste of being hot whilst slightly sour. The basic ingredients are lemongrass, galangal, kaffir lime leaves, fish sauce, red chillies, Thai chilli paste, lime juice, mushrooms and tomatoes.


พม่า (Myanmar)

หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารประจำชาติของพม่าที่มีลักษณะคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย โดยรับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น 
Lahpet is a national dish of Myanmar. It is served traditionally in a shallow lacquer ware dish called lahpet ohk with a lid and divided into small compartments - pickled tea is laced with sesame oil in a central compartment surrounded, in their own compartments, by other ingredients namely crisp fried garlic, peas and peanuts, toasted sesame, crushed dried shrimp, preserved shredded ginger and fried shredded coconut.

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำอาเซียน


ดอกไม้ประจำชาติ..อาเซียน.
มารู้จัก….ดอกไม้ประจำชาติ….ประเทศในกลุ่ม ASEAN กันนะ

ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม

ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา

ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย

Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า

Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

เพลง อาเซียนรวมใจ

เพลง อาเซียนร่วมใจ เนื้อร้อง/ทำนอง ประภาส ชลศรานนท์ ดนดรี คุณพระช่วยออร์เคสตรา ขับร้อง ปาน ธนพร แวกประยูร / บี พีระพัฒน์ เถรว่อง * อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ... อินโดนีเซีย อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ (ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา รอบบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์รวมกัน แบ่งปันบรรเทา ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน (ซ้ำ *) อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ (ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง (พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ (ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา (ช.) เพราะบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์ร่วมกัน แบ่งปันบรรเทา ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ (ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง (พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ (อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) มาเลเซีย พม่า (อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) กัมพูชา ลาว ไทย (อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน (อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ... อาเซียน